Cyber Bully
cyber bully คืออะไร?
Cyberbullying (การแกล้งกันในโลกออนไลน์) คือการรังแกผู้อื่นผ่านทางโลกออนไลน์ โดยการรังแกในที่นี้เป็นได้ทั้ง การด่าทอ, กล่าวหา, ใช้ถ้อยคำเสียดสี ต่อว่าผู้อื่นโดยเป็นการแกล้งที่เจาะจงบุคคลเป้าหมาย และมีแนวโน้มว่าจะเป็นการรังแกที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวจบ ซึ่งการกระทำนี้ จะเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าการแกล้งกันทั่วไป เพราะในโลกออนไลน์นั้น ผู้รังแกไม่ได้เผชิญหน้ากับเป้าหมายจริงๆ และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง ในมุมมองของผู้กระทำเขาอาจจะนึกสนุก แต่ถ้ามองมาดูผู้ถูกรังแกแล้ว เขาไม่ได้โดนรังแกครั้งเดียวแล้วจบไป มันอาจจะฝังลึก วนเวียนอยู่ในจิตใจของเขาได้ตลอดเวลา เพราะในโลกออนไลน์ ข่าวสารนั้นแพร่กระจายไปได้เร็วมาก
Cyberbullying เป็นการกลั่นแกล้งกันแบบไหน ?
การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ สามารถแตกประเด็นออกไปได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ สามารถแตกประเด็นออกไปได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ทำให้อับอาย สร้างความเสียหายต่อผู้ถูกกระทำ
โดยส่วนมากจะเป็นการแกล้งที่มีจุดประสงค์สร้างความอับอายและความเสียหายต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย ผ่านช่องทางการสนทนา หรือโพสต์อย่างโจ่งแจ้งที่หน้าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ เช่น แชตเฟซบุ๊กหรือไลน์มาต่อว่า ใช้ถ้อยคำในทางลบ โดยมีจุดประสงค์จะกุข่าวโคมลอย เรื่องที่ไม่เป็นความจริงให้เกิดกระแสพูดต่อ ๆ กันไป
2. แฉด้วยคลิป
โดยเป็นคลิปอนาจาร หรือคลิปที่เหยื่อถูกรุมทำร้าย รุมแกล้ง แล้วนำคลิปไปโพสต์บนโซเชียลมีเดีย ก่อให้เกิดคอมเมนต์เสีย ๆ หาย ๆ ต่อเหยื่อ
3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น
โดยเฉพาะกรณีเปิดเผยรหัสผ่านของโซเชียลให้ผู้อื่นรู้ ยกตัวอย่างเช่น ให้เพื่อนสมัครเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้ เคสนี้ก็อาจโดนรังแกด้วยการถูกสวมรอยใช้เฟซบุ๊กของตัวเองโพสต์ข้อความหยาบคาย ให้ร้ายบุคคลอื่น โพสต์รูปโป๊ คลิปวิดีโอลามก หรือสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเฉพาะกรณีเปิดเผยรหัสผ่านของโซเชียลให้ผู้อื่นรู้ ยกตัวอย่างเช่น ให้เพื่อนสมัครเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้ เคสนี้ก็อาจโดนรังแกด้วยการถูกสวมรอยใช้เฟซบุ๊กของตัวเองโพสต์ข้อความหยาบคาย ให้ร้ายบุคคลอื่น โพสต์รูปโป๊ คลิปวิดีโอลามก หรือสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ
4. การแบล็กเมล์กัน
โดยนำความลับหรือภาพลับของเพื่อนมาเปิดเผยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง หรือการใส่ร้ายป้ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพน่าเกลียด ๆ หรือการแอบถ่ายภาพหลุดที่น่าขำมาโพสต์ประจาน และแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนานเกินเลย บางครั้งก็ยังเป็นการคุกคามทางเพศ ถ่ายภาพโป๊เปลือย
โดยนำความลับหรือภาพลับของเพื่อนมาเปิดเผยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง หรือการใส่ร้ายป้ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพน่าเกลียด ๆ หรือการแอบถ่ายภาพหลุดที่น่าขำมาโพสต์ประจาน และแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนานเกินเลย บางครั้งก็ยังเป็นการคุกคามทางเพศ ถ่ายภาพโป๊เปลือย
5. การหลอกลวง
มีทั้งการหลอกลวงให้หลงเชื่อ ให้ออกมานัดเจอเพื่อทำมิดีมิร้าย หรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะมีทั้งการหลอกลวงให้หลงเชื่อ ให้ออกมานัดเจอเพื่อทำมิดีมิร้าย หรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
อย่างที่เราเห็นคนตั้งเพจแอนตี้ โจมตีบุคคลหนึ่งขึ้นมา มีการจับผิดทุกอิริยาบถ แล้วนำมาถกประเด็นให้เกิดความเสียหายต่อคนที่ตัวเองไม่ชอบ หรืออาจมีการโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ และกีดกันให้ออกจากกลุ่ม จากสังคมที่อยู่ บางครั้งเลยเถิดถึงขนาดไล่ให้เขาไปตาย หรือยุให้ฆ่าตัวตาย
ทั้งนี้การกระทำที่เข้าข่าย Cyberbullying จะเกิดจากเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ และเสียใจ ดังนั้นการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์จึงมักจะเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิก และในเมื่อเป็นสื่อสังคมออนไลน์ การกลั่นแกล้งในรูปแบบนี้จึงทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากันจะจะถึงจะกลั่นแกล้งได้
Cyberbullying สาเหตุคืออะไร
สาเหตุของการเกิด Cyberbullying มีทั้งเริ่มจากความขัดแย้งเล็ก ๆ ความหมั่นไส้กัน หรือมีกรณีพิพาทเรื่องชู้สาว อันเป็นชนวนของการรังแกกันต่อในโลกออนไลน์ เนื่องจากพื้นที่บนโลกออนไลน์ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความกล้าที่จะรังแกกันมากขึ้น
นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า โซเชียลคือพื้นที่ระบายความรู้สึก ถ้อยคำที่ใช้โพสต์ หรือพฤติกรรมในการกลั่นแกล้งกันจึงออกแนวรุนแรง แสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเทคโนโลยียังเอื้อให้การทำร้ายกันผ่านโซเชียลเป็นเรื่องง่าย แค่พิมพ์ข้อความไป ไม่ต้องเสียกำลังอะไรก็โพสต์เสียดสีหรือสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายได้แล้ว
สาเหตุของการเกิด Cyberbullying มีทั้งเริ่มจากความขัดแย้งเล็ก ๆ ความหมั่นไส้กัน หรือมีกรณีพิพาทเรื่องชู้สาว อันเป็นชนวนของการรังแกกันต่อในโลกออนไลน์ เนื่องจากพื้นที่บนโลกออนไลน์ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความกล้าที่จะรังแกกันมากขึ้น
นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า โซเชียลคือพื้นที่ระบายความรู้สึก ถ้อยคำที่ใช้โพสต์ หรือพฤติกรรมในการกลั่นแกล้งกันจึงออกแนวรุนแรง แสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเทคโนโลยียังเอื้อให้การทำร้ายกันผ่านโซเชียลเป็นเรื่องง่าย แค่พิมพ์ข้อความไป ไม่ต้องเสียกำลังอะไรก็โพสต์เสียดสีหรือสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายได้แล้ว
Cyberbullying ใครเสี่ยงบ้าง
ในสังคมทุกวันนี้ Cyberbullying เป็นการกลั่นแกล้งรังแกกันที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน และคนมีชื่อเสียง เรียกได้ว่าคนที่ใช้โซเชียลมีเดียก็เสี่ยงต่อการ Cyberbullying ได้ทุกคนเลยทีเดียว
แต่ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตเผยว่า จากการสำรวจความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (ภายใน 14 ประเทศทั่วโลก) พบว่า เด็กไทยเกือบ 80% มีประสบการณ์ Cyberbullying ในชีวิตจริง โดย 66% ถูกแกล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และอีก 12% ถูกแกล้งทุกวัน ขณะที่เด็กไทย 45% มีประสบการณ์เกี่ยวกับการกลั่นแล้งทางโลกไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นสถิติที่มากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นถึง 4 เท่า !
อย่างไรก็ตาม แม้สื่อสังคมออนไลน์จะระบุอายุของผู้ใช้งานไว้ที่ 13 ปี เหมาะสมตามที่ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ทว่าก็มีเด็กอายุต่ำกว่ากำหนดจำนวนไม่น้อยที่โกงอายุตัวเองเพียงเพื่อให้สมัครเข้าใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้ ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปียังไม่สมควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ เพราะเสี่ยงที่จะได้รับข้อมูลอันตราย อีกทั้งเด็กยังไม่อยู่ในวัยที่จะมีทักษะควบคุมหรือป้องกันตัวเองจากการกลั่นแกล้งเหล่านี้ได้ และอาจตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ในที่สุด
ในสังคมทุกวันนี้ Cyberbullying เป็นการกลั่นแกล้งรังแกกันที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน และคนมีชื่อเสียง เรียกได้ว่าคนที่ใช้โซเชียลมีเดียก็เสี่ยงต่อการ Cyberbullying ได้ทุกคนเลยทีเดียว
แต่ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตเผยว่า จากการสำรวจความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (ภายใน 14 ประเทศทั่วโลก) พบว่า เด็กไทยเกือบ 80% มีประสบการณ์ Cyberbullying ในชีวิตจริง โดย 66% ถูกแกล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และอีก 12% ถูกแกล้งทุกวัน ขณะที่เด็กไทย 45% มีประสบการณ์เกี่ยวกับการกลั่นแล้งทางโลกไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นสถิติที่มากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นถึง 4 เท่า !
อย่างไรก็ตาม แม้สื่อสังคมออนไลน์จะระบุอายุของผู้ใช้งานไว้ที่ 13 ปี เหมาะสมตามที่ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ทว่าก็มีเด็กอายุต่ำกว่ากำหนดจำนวนไม่น้อยที่โกงอายุตัวเองเพียงเพื่อให้สมัครเข้าใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้ ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปียังไม่สมควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ เพราะเสี่ยงที่จะได้รับข้อมูลอันตราย อีกทั้งเด็กยังไม่อยู่ในวัยที่จะมีทักษะควบคุมหรือป้องกันตัวเองจากการกลั่นแกล้งเหล่านี้ได้ และอาจตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ในที่สุด
จะสังเกตอาการ Cyberbullying ได้อย่างไร
ในบางครั้งเหยื่อของการ Cyberbullying อาจไม่กล้าระบายความทุกข์ใจกับใคร ไม่กล้าเล่าสิ่งที่เจอมาให้ใครฟัง ดังนั้นหากเราสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ควรใส่ใจเขาให้มากขึ้นนะคะ เพราะะเขาอาจตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying อยู่ก็ได้
- มีอาการซึมเศร้า เครียด หรือมีความวิตกกังวล
- ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยพูดจา วัน ๆ เล่นแต่มือถือหรือแท็บเล็ต
- ทำตัวห่างเหินจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนที่โรงเรียน ที่ทำงาน
- อาจมีอาการทางกายแสดงให้เห็น เช่น การกินการนอนผิดปกติ ปวดท้อง ปวศีรษะ - เมื่อเจอคนพูดถึงเรื่องที่น่าอับอาย หรือสอบถามถึงสาเหตุของการไม่ออกจากบ้าน ไม่ไปทำงาน ไม่ไปเรียน เขาอาจมีอาการกรี๊ด ร้องไห้อย่างหนัก หรือสติหลุดเนื่องจากความกดดันให้เห็น
- มีอาการซึมเศร้า เครียด หรือมีความวิตกกังวล
- ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยพูดจา วัน ๆ เล่นแต่มือถือหรือแท็บเล็ต
- ทำตัวห่างเหินจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนที่โรงเรียน ที่ทำงาน
- อาจมีอาการทางกายแสดงให้เห็น เช่น การกินการนอนผิดปกติ ปวดท้อง ปวศีรษะ - เมื่อเจอคนพูดถึงเรื่องที่น่าอับอาย หรือสอบถามถึงสาเหตุของการไม่ออกจากบ้าน ไม่ไปทำงาน ไม่ไปเรียน เขาอาจมีอาการกรี๊ด ร้องไห้อย่างหนัก หรือสติหลุดเนื่องจากความกดดันให้เห็น
- ถ้าเป็นเด็กอาจมีอาการไม่อยากไปโรงเรียน หรือแอบหนีเรียนบ่อย ๆ หรืออาจต้องออกจากโรงเรียน
- ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนตกต่ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- บางคนอาจใช้สารเสพติด
- หากเป็นมาก ๆ อาจถึงขั้นทำร้ายตัวเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย
ทั้งนี้ หากเป็นการกลั่นแกล้งในวัยเด็ก เด็กที่ถูกรังแกมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นผู้รังแกคนอื่นในอนาคต ขณะที่เด็กที่ชอบรังแกผู้อื่น จะมีความเสี่ยงใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดเมื่อเป็นวัยรุ่น รวมทั้งชอบทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน เสี่ยงทำผิดกฎหมาย ตลอดจนมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายคู่สมรสและบุตรเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้
- ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนตกต่ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- บางคนอาจใช้สารเสพติด
- หากเป็นมาก ๆ อาจถึงขั้นทำร้ายตัวเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย
ทั้งนี้ หากเป็นการกลั่นแกล้งในวัยเด็ก เด็กที่ถูกรังแกมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นผู้รังแกคนอื่นในอนาคต ขณะที่เด็กที่ชอบรังแกผู้อื่น จะมีความเสี่ยงใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดเมื่อเป็นวัยรุ่น รวมทั้งชอบทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน เสี่ยงทำผิดกฎหมาย ตลอดจนมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายคู่สมรสและบุตรเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้
ผลกระทบจาก Cyber Bully มีอะไรบ้าง
ผลกระทบจาก Cyberbullying ที่มีต่อเด็ก ๆ อาจมีตั้งแต่สร้างความรำคาญ ความเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนรู้สึกเบื่อชีวิต ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากพบเจอใคร โดยมีเรื่องที่ถูกรังแกตามมาหลอกหลอนเป็นระยะ หรือบางรายอาจมีความเครียดอย่างหนัก ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ และอาจร้ายแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ เป็นผลให้รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย
ส่วนคนที่เป็นฝ่ายรังแก อาจมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความรู้สึกผิดกัดกินใจในภายหลังได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบจาก Cyberbullying ไม่ว่าจะต่อผู้รังแกหรือผู้ถูกรังแกนั้นจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละบุคคล รวมไปถึงทักษะการรับมือของแต่ละคนด้วย
ส่วนคนที่เป็นฝ่ายรังแก อาจมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความรู้สึกผิดกัดกินใจในภายหลังได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบจาก Cyberbullying ไม่ว่าจะต่อผู้รังแกหรือผู้ถูกรังแกนั้นจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละบุคคล รวมไปถึงทักษะการรับมือของแต่ละคนด้วย
รับมืออย่างไรดีกับ Cyberbullying
* อย่าตอบสนอง
ยิ่งเรามีปฏิกิริยาตอบโต้ก็จะยิ่งสมดั่งใจที่เขาต้องการ ดังนั้นนิ่งไว้จะดีกว่า ให้เขาดิ้นของเขาไปฝ่ายเดียว
* อย่าตอบโต้
การตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงพอ ๆ กัน หรือวิธีการคล้าย ๆ กัน อาจทำให้เรื่องราวยิ่งบานปลายมากขึ้นได้ ดังนั้นเราควรเป็นคนปิดวงจร Cyberbullying ด้วยการนิ่งเฉยจะดีกว่า
* เก็บหลักฐานให้มากที่สุด
เดี๋ยวนี้มีกฎหมายคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นหากมีใครมากระทำการอันส่อไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่เป็นความจริง และสร้างความเสียหายให้กับเราผ่านโลกโซเชียล นั่นจะเป็นหลักฐานที่ดีที่จะเอาผิดกับผู้กระทำได้
* บล็อกไปเลย
ถ้ายังราวีไม่หยุดเรามีสิทธิ์ที่จะบล็อกคนนั้นออกจากวงจรโซเชียลมีเดียของเรา ปิดช่องทางไม่ให้เขามาวอแวกับเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์เราได้ และการไม่รับรู้ ไม่ตอบโต้ ไม่เดือดร้อนใด ๆ ของเราก็จะทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกไม่สนุกและเบื่อไปเอง
* ขอความช่วยเหลือ
ถ้าถูกกลั่นแกล้งหนักจนเกินรับมือไหว เราควรบอกกล่าวปัญหาที่เจอกับคนใกล้ตัว หรือคนที่มีอำนาจมากพอจะหยุดวงจร Cyberbullying ได้ เช่น หากเป็นวัยเรียน อาจแจ้งผู้ปกครองและครูประจำชั้นให้รับรู้ เป็นต้น แต่ในกรณีผู้ใหญ่ อย่าลืมว่าตำรวจช่วยคุณได้ อย่างน้อยการลงบันทึกประจำวันไว้กับสถานีตำรวจก็อาจทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกเกรงกลัวกฎหมายขึ้นมาบ้าง
* ใช้เครื่องมือในสื่อออนไลน์ช่วยจัดการ
สื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทางมีตัวเลือกให้เรากดแจ้งให้ผู้บริการสื่อออนไลน์ระงับโพสต์หรือแบนโพสต์ที่ไม่เหมาะสมได้นะคะ ดังนั้นเราก็สามารถใช้วิธีนี้จัดการกับคนที่มากลั่นแกล้งเราได้เช่นกัน
* ไม่ทำร้ายหรือแกล้งใคร
* อย่าตอบสนอง
ยิ่งเรามีปฏิกิริยาตอบโต้ก็จะยิ่งสมดั่งใจที่เขาต้องการ ดังนั้นนิ่งไว้จะดีกว่า ให้เขาดิ้นของเขาไปฝ่ายเดียว
* อย่าตอบโต้
การตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงพอ ๆ กัน หรือวิธีการคล้าย ๆ กัน อาจทำให้เรื่องราวยิ่งบานปลายมากขึ้นได้ ดังนั้นเราควรเป็นคนปิดวงจร Cyberbullying ด้วยการนิ่งเฉยจะดีกว่า
* เก็บหลักฐานให้มากที่สุด
เดี๋ยวนี้มีกฎหมายคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นหากมีใครมากระทำการอันส่อไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่เป็นความจริง และสร้างความเสียหายให้กับเราผ่านโลกโซเชียล นั่นจะเป็นหลักฐานที่ดีที่จะเอาผิดกับผู้กระทำได้
* บล็อกไปเลย
ถ้ายังราวีไม่หยุดเรามีสิทธิ์ที่จะบล็อกคนนั้นออกจากวงจรโซเชียลมีเดียของเรา ปิดช่องทางไม่ให้เขามาวอแวกับเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์เราได้ และการไม่รับรู้ ไม่ตอบโต้ ไม่เดือดร้อนใด ๆ ของเราก็จะทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกไม่สนุกและเบื่อไปเอง
* ขอความช่วยเหลือ
ถ้าถูกกลั่นแกล้งหนักจนเกินรับมือไหว เราควรบอกกล่าวปัญหาที่เจอกับคนใกล้ตัว หรือคนที่มีอำนาจมากพอจะหยุดวงจร Cyberbullying ได้ เช่น หากเป็นวัยเรียน อาจแจ้งผู้ปกครองและครูประจำชั้นให้รับรู้ เป็นต้น แต่ในกรณีผู้ใหญ่ อย่าลืมว่าตำรวจช่วยคุณได้ อย่างน้อยการลงบันทึกประจำวันไว้กับสถานีตำรวจก็อาจทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกเกรงกลัวกฎหมายขึ้นมาบ้าง
* ใช้เครื่องมือในสื่อออนไลน์ช่วยจัดการ
สื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทางมีตัวเลือกให้เรากดแจ้งให้ผู้บริการสื่อออนไลน์ระงับโพสต์หรือแบนโพสต์ที่ไม่เหมาะสมได้นะคะ ดังนั้นเราก็สามารถใช้วิธีนี้จัดการกับคนที่มากลั่นแกล้งเราได้เช่นกัน
* ไม่ทำร้ายหรือแกล้งใคร
พยายามอย่าทำตัวเป็นชนวนก่อให้เกิดปัญหา เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบโต้ในรูปแบบเดียวกัน ฉะนั้นหากเราไม่อยากถูก Cyberbullying ก็อย่าไปทำ Cyberbullying กับใคร แม้แต่การโพสต์บ่นหรือว่าร้ายใครในสังคมออนไลน์ก็ไม่ควรทำ
วิธีป้องกัน Cyberbullying ในเด็ก
สำหรับการดูแลบุตรหลานไม่ให้เสี่ยง Cyberbullying ผู้ปกครองสามารถทำได้ ดังนี้
1. สอนลูก ๆ ว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น
2. คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชตด้วยเป็นใคร
3. สอนลูกให้เก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่สนิทสนม ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลส่วนตัว ควรแนะนำวิธีตั้งค่าความปลอดภัยในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ที่สำคัญควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรนัดเจอกันส่วนตัวกับเพื่อนในโลกออนไลน์โดยเด็ดขาด
4. ควรกำหนดข้อตกลงกันก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกใช้เครื่องมือสื่อสารและโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกใช้โซเชียลมีเดียยังไง คุยกับใครบ้าง หรือมีความผิดปกติอะไรในนั้นหรือไม่
5. พ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูก เพื่อให้ลูกไว้วางใจมากพอจะบอกเล่าทุกเรื่องราวในชีวิตเขาได้ เมื่อมีปัญหาอะไรลูกจะได้กล้าขอคำปรึกษากับเรา
อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวเด็กที่ถูกรังแกผ่านโลกออนไลน์ก็ควรต้องมีสติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ด้วย และอย่าลืมว่าเราสามารถลบข้อความที่สร้างความเสียหายกับเราได้ ทั้งยังสามารถบล็อก หรือ Report คนที่กลั่นแกล้งเราได้ หรือพาตัวเองออกจากสังคมออนไลน์ไปสักระยะ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ต่อไป
สำหรับการดูแลบุตรหลานไม่ให้เสี่ยง Cyberbullying ผู้ปกครองสามารถทำได้ ดังนี้
1. สอนลูก ๆ ว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น
2. คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชตด้วยเป็นใคร
3. สอนลูกให้เก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่สนิทสนม ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลส่วนตัว ควรแนะนำวิธีตั้งค่าความปลอดภัยในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ที่สำคัญควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรนัดเจอกันส่วนตัวกับเพื่อนในโลกออนไลน์โดยเด็ดขาด
4. ควรกำหนดข้อตกลงกันก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกใช้เครื่องมือสื่อสารและโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกใช้โซเชียลมีเดียยังไง คุยกับใครบ้าง หรือมีความผิดปกติอะไรในนั้นหรือไม่
5. พ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูก เพื่อให้ลูกไว้วางใจมากพอจะบอกเล่าทุกเรื่องราวในชีวิตเขาได้ เมื่อมีปัญหาอะไรลูกจะได้กล้าขอคำปรึกษากับเรา
อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวเด็กที่ถูกรังแกผ่านโลกออนไลน์ก็ควรต้องมีสติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ด้วย และอย่าลืมว่าเราสามารถลบข้อความที่สร้างความเสียหายกับเราได้ ทั้งยังสามารถบล็อก หรือ Report คนที่กลั่นแกล้งเราได้ หรือพาตัวเองออกจากสังคมออนไลน์ไปสักระยะ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ต่อไป
ทั้งนี้ผู้ปกครองก็ควรสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน หากเขามีอาการหงุดหงิดหรือพฤติกรรมแปลกไปหลังเล่นโซเชียลมีเดีย อาจต้องเข้าไปพูดคุยและถามไถ่ถึงสาเหตุเหล่านั้น เป็นการช่วยแชร์ความรู้สึกแย่ ๆ จากสิ่งที่เขาเผชิญอีกทาง รวมทั้งพยายามพาเขาออกห่างจากโลกออนไลน์บ้าง เพื่อลดความเครียด
วิธีป้องกัน Cyberbullying ในคนทั่วไป
1. ไม่สื่อสารเรื่องราวที่สร้างความเกลียดชัง เพราะอาจนำไปสู่ความรุนแรง
2. ไม่ส่งต่อข้อความหรือเรื่องราวที่สร้างความเกลียดชัง
3. ตักเตือนเมื่อเห็นการกลั่นแกล้งกันทางโซเชียลมีเดีย โดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพและแสดงถึงความเป็นห่วงเป็นใย
1. ไม่สื่อสารเรื่องราวที่สร้างความเกลียดชัง เพราะอาจนำไปสู่ความรุนแรง
2. ไม่ส่งต่อข้อความหรือเรื่องราวที่สร้างความเกลียดชัง
3. ตักเตือนเมื่อเห็นการกลั่นแกล้งกันทางโซเชียลมีเดีย โดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพและแสดงถึงความเป็นห่วงเป็นใย
ป้องกันนิสัยบูลลี่ผู้อื่น
ส่วนคนที่เป็นฝ่ายบูลลี่คนอื่น ถ้าตระหนักได้ว่าพฤติกรรมของตัวเองนั้นเป็นสิ่งไม่ดี อยากจะแก้ไข แต่ติดปัญหาว่า เคยชินกับพฤติกรรมนี้ จนบางครั้งทำไปโดยไม่รู้ตัว จะแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองอย่างไร รวมถึงคนที่ยังไม่ได้ทำพฤติกรรมนี้ แต่อยากจะป้องกันไม่ให้ตัวเองเกิดนิสัยนี้ หรือป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว
จะป้องกันอย่างไร อาจารย์บอกหลักการง่าย ๆ ว่า ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ลองคิดกลับกันว่า หากเราโดนคำพูดหรือการกระทำแย่ ๆอย่างที่เราทำกับคนอื่น เราจะรู้สึกอย่างไร คือ ให้พึงระลึกไว้เสมอว่า สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ ก็อย่าไปทำสิ่งนั้นกับคนอื่น
Cyberbullying ผิดกฎหมายข้อไหน มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง
แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการทำผิดในเรื่องการกลั่นแกล้งทางออนไลน์โดยตรง แต่ก็พอมีกฎหมายบางข้อที่นำมาปรับใช้กับเคสนี้ได้ แม้จะไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น
แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการทำผิดในเรื่องการกลั่นแกล้งทางออนไลน์โดยตรง แต่ก็พอมีกฎหมายบางข้อที่นำมาปรับใช้กับเคสนี้ได้ แม้จะไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น
ประมวลกฎหมายอาญา
- มาตรา 326 การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม และทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ- มาตรา 328 ถ้าเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ไม่ว่าจะใช้ภาพ หรือตัวอักษร หรือบันทึกเสียง หรือบันทึกภาพ หรือป่าวประกาศด้วยวิธีใด ๆ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับกฎหมายหมิ่นประมาทนี้ ยังมีข้อจำกัดตรงที่การตัดสินว่ามีความผิดหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาด้วยว่า ถ้อยคำที่ใช้กลั่นแกล้งล้อเลียนกันนั้น สามารถเป็นจริงได้หรือไม่ หากล้อเลียนกันด้วยข้อความที่เป็นไปไม่ได้ หรือถ้อยคำที่ใช้ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ก็จะไม่เป็นความผิด
- มาตรา 392 ผู้ที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว ตกใจ โดยการขู่เข็ญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มาตรา 397 หากรังแก ข่มเหง คุกคามผู้อื่น หรือทำให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
* พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา 14 กรณีโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอมแปลงไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลที่เป็นเท็จ ซึ่งคนอื่นสามารถเข้าไปดูข้อมูลนั้นได้ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย รวมทั้งข้อมูลลามกต่าง ๆ ทั้งผู้โพสต์และผู้เผยแพร่ส่งต่อ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 14 กรณีโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอมแปลงไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลที่เป็นเท็จ ซึ่งคนอื่นสามารถเข้าไปดูข้อมูลนั้นได้ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย รวมทั้งข้อมูลลามกต่าง ๆ ทั้งผู้โพสต์และผู้เผยแพร่ส่งต่อ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาดูคลิปเกี่ยวกับ Cyber Bullying กันค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น